ประวัติความเป็นมาของลูกเสือสำรอง

                ลูกเสือสำรองมีชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลว่า  “ลูกหมาป่า”  หมายถึง  หมาป่าที่มีอายุน้อย  ส่วนคำว่า  “ลูกเสือ”  หมายถึงนักสอดแนมและเป็นผู้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนเก่งที่สุดจนได้รับ  ฉายาว่า  “หมาป่า”  ลูกเสือเด็ก ๆ  จึงได้ชื่อว่า  “ลูกหมาป่า”  ที่เราเรียกว่า  “ลูกเสือสำรอง”

                ลอร์ด  เบเดน  โพเอลล์  หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า  “บี.พี.”  แห่งกิลเวลล์  เป็นผู้ให้กำเนิดการลูกเสือ  วงการลูกเสือโดยทั่วไปถือว่าการที่  บี.พี. นำเด็กไปทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี  เมื่อปี  ค.ศ.1907  (พ.ศ.2450)  เป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลก  จึงบันดาลให้เกิดลูกเสือสามัญและเพื่อเป็นการวางรากฐานกิจการลูกเสือในจิตใจของเด็กตั้งแต่เยาว์วัย  บี.พี.  จึงได้จัดตั้งกองลูกเสือสำรองขึ้นเมื่อ  ค.ศ.1916(พ.ศ.2459)  โดยรับเด็กตั้งแต่อายุ  8 ขวบขึ้นไปการฝึกอบรมให้ลูกเสือสำรองรู้จักปรับตัวเองให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย  โดยให้เริ่มเรียนรู้จากการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม โดยร่วมมือทำงานในกองลูกเสือสำรองซึ่งเรียกว่า  “แพ็ค”    ลอร์ด  เบเดน  โพเอลล์  นำนิยายเรื่องป่าดงพงพีของริดยาร์ด  คิปลิ่ง  มาเล่าให้เด็กฟังเป็นอุทาหรณ์เพื่อให้เด็กรู้จักคิด  รู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่  และรู้หน้าที่ของตนเอง  สำหรับประเทศไทย  ได้จัดตั้งกองลูกเสือสำรองขึ้นเป็นกองแรก  เมื่อวันที่  5  สิงหาคม  2501

 

 

 

 

 

ครูศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครู ชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ)โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา  ลำพูน  : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน    เลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4    ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน)  
ตำบลลี้    อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน 51110 Tel : 08-1026-9760  ,  หรือ krutujao_scout@hotmail.com

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :

คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งกาย  สติปัญญา  จิตใจ  ศึลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบ  ช่วยสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ