เงื่อนลูกเสือสำรอง

กิจกรรมเกี่ยวกับหลักสูตรลูกเสือสำรอง

ความมุ่งประสงค์

                กิจกรรมเหล่านี้จัดอยู่ในโครงการฝึกอบรมเพื่อรับเครื่องหมายดาว

                -  เพื่อสอนทักษะให้ลูกเสือสำรองได้ใช้เป็นประโยชน์

                -  เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

                -  เพื่อให้ลูกเสือสำรองได้รับการฝึกอบรมกลวิธีบางอย่างของการลูกเสือ  ซึ่งเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่ตื่นเต้น  ในกิจกรรมลูกเสือต่อไป

ตามหลักสูตรลูกเสือสำรอง  จะเรียนเรื่องเงื่อน  6  เงื่อนดังนี้

 

1.เงื่อนพิรอด

 

2.เงื่อนขัดสมาธ

 

3.เงื่อนบ่วงสายธนู (ผูกกับตัวเชือก และ ผูกกับตัวเอง)

 

4.เงื่อนกระหวัดไม้ ( 1 ชั้น และ 2 ชั้น)

 

5.การเก็บเชือกอย่างง่าย

 

6.การขดเชือก

เครื่องหมายดาว

               ทำไมเราต้องเรียนรู้วิธีผูกเงื่อน  เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไปภายหน้า  เขาจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของเงื่อน  งานอดิเรกต่าง ๆ  เช่น  การเล่นเรือใบ  การสำรวจน้ำ  การตกปลา  การปีนเขา และอื่น ๆ  เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยทักษะในการผูกเงื่อนทั้งสิ้นด็กส่วนใหญ่รู้สึกสนุกในการผูกเงื่อน  ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นด้วยการรู้จักใช้มือด้วยกลวิธีพลิกแพลงได้อย่างว่องไว  อย่างไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องให้ลูกเสือสำรองได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์  และคุณค่าของเงื่อนพร้อมทั้งวิธีการผูกเงื่อนอย่างถูกต้อง  การผูกเงื่อนอย่างถูกต้อง  การผูกเงื่อนบ่วงสายธนูได้อย่างถูกต้องนั้น  หมายถึงสามารถช่วยชีวิตได้เมื่อทำการสอนลูกเสือสำรอง  สิ่งสำคัญที่สุดก่อนอื่น  ควรอธิบายให้เขาเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของเงื่อน  แล้วจึงรู้ชื่อเงื่อนในอันดับต่อมา สำรวจดูว่า  เด็กถนัดมือซ้ายหรือมือขวา  ทั้งนี้เพื่อให้เขาได้รับการฝึกหัดอย่างถูกวิธี  ผู้กำกับลูกเสือควรจะได้ปรับตนเองให้ถูกต้องด้วยจงยืนอยู่ข้าง ๆ  เด็ก  และให้เด็กปฏิบัติตามไปทีละน้อยให้เขาได้มีโอกาสฝึกหัดผูกเงื่อนอย่างเต็มที่ในภาวะแตกต่างกัน  เช่น  ในการเล่นเกม  หรือกิจกรรมต่าง ๆคำแนะนำที่ดี  คือ  ควรจัดให้เด็กแต่ละคนใช้เชือกที่มีสีแตกต่างกัน  ทั้งนี้  เพื่อผู้กำกับฯ  จะได้มองเห็นทั่วถึงชัดเจนทุกคนควรเลือกใช้เชือกที่มีขนาดเหมาะสมกับมือเล็ก ๆ  ของเด็ก  และอยู่ในสภาพเรียบร้อย  หัวเชือกที่หลุดลุ่ยจะทำให้เด็กสับสน  หลังจากที่ใช้แล้วจงสอนให้เด็กรู้จักเก็บเชือกด้วย

เงื่อนพิรอด  (Reef  Knot)  คือ

                -  เงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเท่า ๆ  กัน

                -  เงื่อนซึ่งแบนราบ  ดังนั้น  จึงใช้ประโยชน์ในการห่อของหรือผูกผ้าพันแผล

                -  เงื่อนซึ่งผูกแน่น  แต่ง่ายต่อการแก้

                -  เงื่อนซึ่งมีความดึงแน่นกับเชือกที่มีขนาดเท่ากัน

เงื่อนขัดสมาธิ  (Sheet  Bend)  คือ

                -  เงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดไม่เท่ากัน

                -  เงื่อนที่ใช้ผูกเชือกเข้ากับห่วง

                -  เงื่อนที่มีความดึงแน่นกับเชือกที่มีขนาดไม่เท่ากัน

                ในภาษาอังกฤษ  Sheet  เป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของเรือใบ  (Sail)  และ  Bend  ก็เป็นคำที่ใช้บอกชนิดเฉพาะของเงื่อน  ดังนั้น  คำว่า  “Sheet  Bend”  จึงเป็นเงื่อนดั้งเดิมที่ใช้ในการผูกเชือกที่มุมของใบเรือ  (Sail)  เมื่อถูกพายุพัดหลุดออกมา

เงื่อนผูกกระหวัดไม้  (Round  Turn  and  Two  half  hitches)  เป็น

                วิธีการผูกเชือกกับเสา  (Pole)  หรือผูกเชือกเส้นหนึ่งกับอีกเส้นหนึ่ง  (แต่ไม่ใช่การผูกเชือกทั้งสองเข้าด้วยกัน)  แตกต่างของคำว่า  Knot  และ  hitch  นั่นคือ  ถ้าท่านผูกเงื่อน  (knot)  รอบห่อของแล้วดึงห่อของออกมา  เงื่อน  (knot)  ยังคงอยู่แต่ถ้าท่านผูกระหวัด  (hitch)  ไว้กับเสาแล้วดึงออกมา  เงื่อน  (hitch)  จะแยกออกจากกัน  เหลือเพียงเส้นเชือกเปล่า ๆ  ลองพยายามทำเช่นนี้ด้วยตัวเอง  แล้วท่านจะทราบความหมายนั่น

เงื่อนบ่วงสายธนู  (Bowline)  หมายถึง

                หน้าไม้หรือธนูหรือบ่วงที่อยู่ในแนวเดียวกัน  เป็นเงื่อนที่ไม่เลื่อนและนี่คือทำไมจึงเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์  สามารถช่วยชีวิตได้

                เป็นเรื่องสำคัญในการเรียนรู้ถึงวิธีการผูกเงื่อนนี้รอบตัวเอง  รอบบุคคลอื่นหรือด้วยเชือกเปล่า ๆ  แล้วโยนให้กับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในอันตราย

                เชือกซึ่งเก็บรักษาไว้อย่างระมัดระวังจะใช้ได้นาน  แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ  มันจะหลุดลุ่ยและเป็นรอยขดหงิกงอในไม่ช้าก็จะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย

                การสอบเพื่อรับเครื่องหมายดาวดวง 1  ลูกเสือสำรองจำเป็นต้องรู้วิธีการเข็ดเชือก  (Hank)  ที่สั้น ๆ  ดั่งที่เราใช้เชือกนั้นฝึกหัดผูกเงื่อนในกองลูกเสือสำรอง  วิธีเก็บอาจทบเชือกทีละครั้งสัก  2  ทบ  แล้วทำบ่วงคล้องหัวเชือกอย่างง่าย ๆ  เท่ากับเป็นการเก็บความยาวของเชือกเข้าไว้ด้วยกันได้

                การสอนเพื่อรับเครื่องหมายดาวดวงที่  3  ลูกเสือสำรองต้องได้รับการฝึกหัดอบรม  ให้รู้จักเก็บรักษาเชือกที่มีขนาดยาว  ซึ่งอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ในค่ายพัก  หรือเมื่อเขาได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่ตื่นเต้น  เมื่อไปเป็นลูกเสือสามัญ ภายหลังที่ขดเชือกแล้วให้เหลือเชือกไว้วงหนึ่ง  แล้วใช้เชือกที่เหลือนั้นพันไปรอบ ๆ  ขดเชือกทั้งหมด  แล้วสอดลอดวงเชือก  ด้วยวิธีนี้เราสามารถแขวนเข็ดเชือกที่ขมวดไว้กับขอได้

                เราจะเล่านิทานสั้น ๆ  เรื่องกระต่ายที่ออกมาจากโพรง  ฯลฯ  ผู้กำกับลูกเสือของท่านอาจจะไม่เห็นด้วย  แต่บางครั้งการเล่านิทานเป็นการช่วยส่งเสริมความจำของลูกเสือสำรองได้บ้าง  จุดประสงค์ที่แท้จริงของการผูกเงื่อน  ก็คือ  ต้องปลูกฝังความทรงจำไว้ในหัวใจของเด็ก  ส่วนนิทานเรื่องกระต่ายก็อาจจะหลงลืมไปในไม่ช้า

                เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเงื่อนแล้ว  ควรให้มีการเล่นเกมผูกเงื่อนเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน  และเป็นการย้ำให้รู้จักใช้เงื่อนอย่างถูกต้อง

 

นายศราวุธ  เขื่อนคำ  วุฒิทางลูกเสือ :  L.T.  ตำแหน่งทางลูกเสือ : รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ครูชำนาญการพิเศษ(ลูกเสือ) : นายกสมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน  
ที่อยู่ สมาคมผู้บังคับบัญชาลูกเสือลำพูน เลขที่ 450 / 3 หมู่ที่4 ถนนพหลโยธิน(อาคารสำนักงานส่งเสริมวินัยนักเรียน) ตำบลลี้   อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน 51110
Tel : 08-1026-9760   หรือ krutujaoscout@hotmail.com

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ :